การสื่อสารในครอบครัว
๑. สมาชิกในครอบครัว ต้องคำนึงว่า แต่ละคนอาจจะมีประสบการณ์มาไม่เหมือนกัน ทำให้คำพูดที่สื่อสารระหว่างบุตรกับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง อาจทำให้มีความไม่เข้าใจเกิดขึ้นได้ จึงต้องมีการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสมาชิกในครอบครัวต้องมีความตั้งใจดีต่อกัน ยอมรับซึ่งกันและกันและใช้เหตุผลพูดกัน
๒. การสื่อสารในครอบครัว ถึงแม้ว่าจะเป็นการสื่อสารอย่างเป็นกันเอง แต่ก็ต้องระมัดระวังการใช่ข้อความบางอย่างที่อาจทำให้เกิดความขัดข้องหมองใจกัน หรือเข้าใจไม่ตรงกัน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวก็ได้
๓. คนในครอบครัวควร แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพราะคำบางคำในแต่ละสมัยสื่อความหมายไม่เหมือนกันเช่น ชื่อเรียกของสีผู้ใหญ่มักจะเรียกสีส้ม ว่าสีแสด คำที่ขึ้นอยู่กับยุคสมัยเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกันระหว่างบุคคลในครอบครัวที่มีอายุต่างวัยกัน จึงจำเป็นที่คนในครอบครัวควรเรียนรู้คำที่ใช้สื่อสารกันในยุคสมัยของแต่ละคน
๔. การสื่อสารในครอบครัว ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดซึ่งกันและกัน เพราะจะทำให้มารยาทเหล่านี้ติดตามไปในการพูดในกาลเทศะต่างๆ เช่น ไม่พูดข่ามศีรษะผู้อื่น ไม่ควรตะโกนพูดกัน และไม่แย่งกันพูด
การสื่อสารในโรงเรียน
๑. การสื่อสารในโรงเรียน อาจใช้เวลานาน เพราะเรื่องราวที่ใช้สื่อสารอาจจะมีปริมาณมาก ผู้ส่งสารจึงจำเป็นต้องบอกผู้รับสารว่าจะใช้เวลามากแค่ไหน และพูดอย่างไรเรื่องอะไรบ้าง ผู้ส่งสารควรรักษาเวลา และพูดไม่พูดนอกเรื่อง ควรพูดในขอบเขตของเรื่องที่จะพูด ส่วนผู้รับสารควรตั้งใจและอดทนฟัง รวมถึงต้องให้เกียรติผู้พูดด้วยเช่น การลุกออกจากที่ประชุมเมื่อมีกิจธุระควรขออนุญาตและทำความเคารพผู้ส่งสารซึ่งเป็นมารยาทที่ควรปฏิบัติต่อผู้เข้าประชุม
๒. การสื่อสารในโรงเรียน บางทีอาจจะมีการโต้แย้งถกเถียงกันระหว่างผู้ส่งสาร กับผู้รับสารได้ การโต้แย้งถกเถียงกันควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งสองผ่ายและควรเหตุผล ไม่พูดหยาบคายไม่ควรใช้อารมณ์เพราะจะนำไปสู่การทะเลาะวิวาทได้
๓. การสื่อสารในโรงเรียน อาจมีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือสื่อสารในกลุ่ม ซึ่งข้อเท็จจริงบางอย่างไม่ควรนำมาเผยแพร่ เพราะจะมีผลเสียหายสะท้อนกลับมา ถึงบางเรื่องจะเผยแพร่ได้ก็ควรคำนึงเสมอว่าไม่ควรเอาเรื่องไปพูดให้บิดเบือนจากความเป็นจริง
๔. ควรระมัดระวังท่าทาง การพูดที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน เพราะในโรงเรียนเป็นที่ที่ทุคลสามารถเข้ามาเพื่อติดต่อธุระบางอย่างได้เช่นผู้ปกครองเข้มารับบุตร ซึ่งในการสื่อสารกันระหว่างเพื่อนบางคำอาจจะดูไม่หยาบคาย แต่ในสายตาของคนภายนอกอาจจะเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี และอาจทำให้เสียภาพลักษณ์ของโรงเรียนไป
๕. บุคคลที่ทำงานภายในโรงเรียน เช่น นักการ ครู หรือผูบริหารจำเป็นต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกัน จึงควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน ไว้วางใจกัน และเคารพผู้ที่อาวุโสกว่า จะช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
๑. คำทักทาย ควรใช้คำทักทายที่เหมาะสมสุภาพ และควรศึกษาประเพณีแต่ละท้องถิ่นด้วย เพราะการทักทายของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีทำเนียมการทักทายที่ไม่เหมือนกัน
๒. ในบางโอกาส จะมีการสื่อสารเพื่อการแสดงความยินดี หรือแสดงความเสียใจ ซึ่งมักจะกระทำกันด้วยวาจา
๓. การสื่อสารในวงสังคมนั้น จะมีการติดต่อกับบุคคลที่เราไม่รู้จักการพูดด้วยต้องใช้คำสุภาพตามสมควร และต้องพูดตรงประเด็น
๔. ในการคบหากับชาวต่างชาติ เราก็ควรจะศึกษามารยาท และประเพณีที่สำคัญๆของกันและกัน แต่ก็ควรระลึกไว้ว่าชาวต่างประเทศจำนวนมากรู้ภาษาไทย จึงควรระวังการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
ภาษากับการปลูกฝังคุณธรรม
ภาษิต เป็นคำที่ผู้ฉลาดผูกขึ้น เพื่อประโยชน์เฉพาะกาล ใช้เตือนใจมนุษย์ เช่น " รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี " จะสอนให้รู้จักใฝ่หาความรู้ ความรู้จะมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้ร่วมงาน
นิทาน เป็นเครื่องช่วยปลูกฝังคุณธรรม การฟังนิทาน เราต้องใช้การใคร่ครวญเช่นเดียวกับการฟังเรื่องทั้งหลาย นิทานจะสอนให้เราเข้าใจชีวิต และให้เห็นคุณค่าของความดี ทั้งนิทานระดับชาวบ้าน ในหนังสือเรียน และในวรรณคดี
ตำนาน มักจะกล่าวถึงบุคลสำคัญและสอนให้เห็นถึงคุณธรรมของบุคคลนั้น ทำให้ผู้ที่ได้อ่าน หรือฟังตำนานนั้นๆเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ส่วนตำนานท้องถิ่นก็ทำให้คนรักท้องถิ่น
วรรณคดี มีอิทธิพลต่อต่อคุณธรรมของชนชาติที่เป็นเจ้าของมาก การศึกษาวรรณคดีก็คือการเรียนชีวิตส่วนลึกของมนุษย์โดยอาศัยวรรณศิลป์ ในการอ่านวรรณคดีเราก็อ่านด้วยวิจารณญาณ เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ