วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสาร

๑. ผู้รับสาร-ผู้ส่งสาร เมื่อการสื่อสารไม่ราบรื่น ควรสงบจิตใจทำใจให้เป็นกลาง และไม่หวั่นไหวไปกับการสับสนที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารนั้น ค่อยๆพิจารณาอย่าด่วนสรุปว่าตัวสารหรือผู้ส่งสารเป็นต้นเหตุอุปสรรคของการสื่อสาร โดยพิจารณาที่ตัวเราเองก่อน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงตนเองให้มีความพร้อมยิ่งขึ้น ไม่เกิดการขุ่นข้องหมองใจแก่ทุกฝ่าย อุปสรรคของการสื่อสารก็จะหมดไป
๒. ตัวสาร สารอย่างเดียวกันสามารถนำเสนอได้หลายวิธี โดนจะต้องเลือกวิธีที่เกิดอุปสรรคในการสื่อสารน้อยที่สุด การสื่อสารบางอย่างอาจจะเหมาะกับการเขียน และบางอย่างอาจจะเหมาะกับการพูดก็ได้
๓. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ต้องสื่อความหมายชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำพูดกำกวม การเขียนนี้ต้องระวังมากกว่าการพูด เพราะผู้อ่านไม่อาจสอบถามทำความเข้าใจได้ในทันที จึงต้องระวังไม่ให้ภาษากลายเป็นอุปสรรคในการสื่อสาร
๔. สื่อ เป็นอุปสรรคในการสื่อสาร บางอย่างสามารถแก้ไขได้ เช่น โทรทัศน์และวิทยุมีสัญญาณขัดข้อง แต่บางอย่างก็แก้ไขไม่ได้ เช่น ภาพแผ่นใสที่ปรากฏบนจอไม่ชัดเจน การสื่อสารจึงเกิดอุปสรรค ก็ควรไปใช้สื่ออย่างอื่น เช่น แจกเอกสารประกอบ การบอกกล่าวผู้อื่นเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น
๕. กาลเทศะและสภาพแวดล้อม การสื่อสารต้องประมาณเวลาให้เหมาะสม และต้องเลือกเวลาให้เหมาะสมด้วย เรื่องบางเรื่องไม่ควรพูดในหมู่มากก็อย่าพูด แต่ถ้าอยู่กันสองคนก็อาจจะพูดได้โดยสะดวกใจ ไม่เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น